วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีวันลอยกระทง


          ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง

       
          เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

          การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"

          ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

          "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"

เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง 


สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 

เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนถึงเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ไม่สะอาด

เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทธ

เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้าโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 

เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ใน ท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้  
    
เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 
   
เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน 
    
เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้อีกด้วย

         


          การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ


ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว

ตอบคำถามบทที่ 2

1 E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?


         E-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ

      ส่วน E-commerce คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

           สรุปคือ E-business มีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึง การทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการซื้อขาย การติดต่อประสานงาน รวมถึงงานธุรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงานด้วย ในขณะที่ E-commerce หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะเน้นเฉพาะการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า E-commerce เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ E-business เท่านั้น

2 หาความหมายของคำต่อไปนี้ ?


◣ Business-to-Business (B2B) ◥
          
          หมายถึง ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า เช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่องการขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

◣ Business-to-Customer (B2C) ◥
            
          หมายถึง ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวิดีโอ ขายซีดีเพลง เป็นต้น

◣ Business-to-Business-to-Customer (B2B2C) 
             
          หมายถึง เป็นการเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นคือ องค์กรธุรกิจขายให้องค์กรด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง

 Customer-to-Customer (C2C) 
     
          หมายถึง ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

 Customer-to-Business (C2B) 
     
          หมายถึง คือการที่ลูกค้าระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไปแล้วตัวองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า

 Mobile Commerce 

          หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัวที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี M-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง

สรุปบทที่ 5

E-commerce 


          ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์กรเครือข่ายร่วม (Internet worked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

◣ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) 

          การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุึกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ิอินเตอร์เน็ต เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงนขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับสินค้า เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาลงได้


◣ โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure) 

          องค์ประกอบหลักสําคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนํามาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

           ระบบเครือข่าย (Network)
           ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
           การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
           การรักษาความปลอดภัย (Security

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


◣ ประเภทของ E-Commerce 

◣ กลุ่มธุรกิจที่ค้ากําไร (Profits Organization) 

           Business-to-Business (B2B)
           Business-to-Customer (B2C)
           Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
           Customer-to-Customer (C2C)
           Customer-to-Business (C2B)
           Mobile Commerce

◣ กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization) 

           Intrabusiness (Organization) E-Commerce
           Business-to-Employee (B2E)
           Government-to-Citizen (G2C)
           Collaborative Commerce (C-Commerce)
           Exchange-to-Exchange (E2E)
           E-Learning

◣ E-Commerce Business Model 

◣ แบบจําลองทางธุรกิจ 

          หมายถึง วิธีการดําเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้อันจะทําให้บริษัทอยู่ต่อไปได้นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

◣ ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค้าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทําให้ลูกค้ายอมจ่ายค้าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL

◣ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน 

          เป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP ), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล) เป็นต้น  ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce 

◣ ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ 

          ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชํา),EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย) เป็นต้น ปัจจัยในความสําเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า

◣ ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทํากําไรได้คือ Yahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่น 

◣ บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 

          ปัจจัยที่สําคัญอีกประการหนึ่งต่อความสําเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การกําหนดมาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทํางานร่วมกันให้มีความสอดคล่องกัน เช่น ในกรณีของ eCitizen ซึ่งสามารถ ทําให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service)  ในกรณีศึกษา ได้แก่MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov(การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน)

◣ ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจําเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจํานวนมาก ส่วนปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น

◣ ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ 

          ปัจจัยในความสําเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อผู้ขายจํานวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทําให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยการมีควาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี  ในกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก)

◣ ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิ ทั่วไป LOGO กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 


◣ ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce 

ข้อดี

           สามารถเปิด ดำเนิน การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
           สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
           ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
           ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
           ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียว แต่ไปได้ทั่วโลก
           สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้ง่าย
           ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
           ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

           ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
           ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้
           ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
           ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
           การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

สรุปบทที่ 4

✪ Business Strategy 

          คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจําลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ทํายังไง ให้การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้แล้วทํายังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทํายังไงให้มันแตกต่าง การทําธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง ขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทําธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้

           Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
           Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
           Strategy definition : กลยุทธ์การกําหนดนิยาม
           Strategy implementation : กลยุทธ์การดําเนินงาน

◣ กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์(E-Business Strategies) 

          กลยุทธ์เป็นตัวกําหนดทิศทางและการดําเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร สรุปปัจจัยสําคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนํามาใช้ได้ซึ่งก็คือ

          ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
          กําหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
          กําหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
          เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
          จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

          องค์ประกอบที่สําคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์คือ การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร กลยุทธ์ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยในการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสมหากปราศจากการกําหนดเป้าหมาย การดําเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด จําเป็นที่จะต้องกําหนดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะถูกไปใช้ร่วมกันกับช่องทางอื่นๆได้อย่างไร สิ่งสําคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทําให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับความพึงพอใจจากภายในและเกิดผลประโยชน์จากการนําเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาใช้

Different forms of organizational strategy


Relationship between e-business strategy and other strategies


◣ E-channel strategies 

          E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ชาองทางทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถกําหนดวิธีการที่ใช้ทํางานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business

◣ Multi-channel e-business strategy 

          กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกําหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน

ตัวอย่าง Multi-channel ของกลยุทธ์การเช็คอินของ AIR ASIA 




◣ Strategy Formulation 

          ↘ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุน วัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
          ↘ การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
          ↘ การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่า
                   - องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
                   - มีหน้าที่ บริการอะไร แก่ใครบ้าง
                   - โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดําเนินการเช่นใด    
          ↘ การกําหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
          ↘ การวิเคราะห์และเลือกกําหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ

◣ Strategic Implementation 

         ↘ การกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน
          ↘ การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดําเนินการ
          ↘ การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้าง ระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ

◣ Strategic Control and Evaluation 

          ↘ การติดตามตรวจสอบผลการดําเนินงานตามแผนกลยุทธ์
          ↘ การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทําให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์




สรุปบทที่ 3

✪ Business Environment 




สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
          1.สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่ธุรกิจสามารถกําหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
          2.สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยบังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

◣ สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment) 

          คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
           ตลาด หรือลูกค้า (Market)
           ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
           คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
           สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์(Publics)

◣ สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment) 

          คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
           ด้านการเมืองและกฎหมาย
           เศรษฐกิจ
           สังคม
           เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ

           ◣ S (Strengths) จุดแข็ง 

          เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ 

           ◣ W (Weaknesses) จุดอ่อน 

          เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจํากัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดําเนินการแก้ไข 

           ◣ O (Opportunities) โอกาส 

          เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ 

           ◣ T (Threats) อุปสรรค 

          เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย



◣ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix 

           ◣ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) 


เป็นการใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก

           ◣ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) 


เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและข้อจํากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

           ◣ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) 


เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข

           ◣ กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) 


เป็นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนําข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจํากัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนํามากําหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

สรุปบทที่ 2 (ต่อ)

✪ Blog  

          Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log
          
      ↘ Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal)ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ, รูปและลิงค์
      ↘ การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”
      ↘ บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries”
      ↘ บุคคลที่โพสลงใน “entries”เรียกว่า “blogger


◣ จุดเด่นของ Blog ◥ 

       ↘ เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่เป็นกล่มุ เป้ าหมายได้ชัดเจน
       ↘ มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น
       ↘ Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ

◣ ข้อแตกต่างของ Blog กบเว็บประเภทอื่น  

       ↘ การใส่ข้อมูลใหม่ทําได้ง่าย
       ↘ มีtemplate อัตโนมัติช่วยจัดการมีการกรองเนือหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ
       ↘ ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่นโดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
       ↘ เจ้าของ blog จะเป็ นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านัน

◣ Blog และวิถีของผู้คน 

       ↘ Blogger หลายคนสนับสนุนแนวคิดเรื่อง open source 
       ↘ Blog ส่งผลกระทบต่อสังคมได้เช่นบาง Blog นั นลูกจ้างอาจจะก่อรําคาญใจต่อนายจ้างและทําให้บางคนถูกไล่ออก
       ↘ คนใช้Blog ในทางอื่นๆ เช่นส่งข้อความสู่สาธารณะ อาจจะมีปัญหาตามมาได้คือการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา หรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือได้
       ↘ บางครั งการสร้างข่าวลือก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนัน ๆ ได้
       ↘ Blog เป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์สามารถนํามาใช้ช่วยกบปัญหาด้านจิตวิทยา , อาชญากรรม , ชนกลุ่มน้อย ฯลฯ
       ↘ Blog เป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อยางประหยัดและมีประสิทธิภาพ



◣ Internet Forum 

- ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
- มีการรวบรวมข้อมูลทั่ว ๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
- ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
- ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้

◣ Wiki 

       ↘ Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"
       ↘ สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน
       ↘ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะมีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น
       ↘ Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม (Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้
รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
       ↘ มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org
       ↘ วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org
       ↘ ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
       ↘ ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดี พึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลใน
การสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
       ↘ ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพืนที่ให้กับปัจเจกบุคคล ในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
       ↘ เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอยางอิสระปราศจากการครอบงําจากเจ้าของ เทคโนโลยีให้มากที่สุด
       ↘ ดังนันการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิของปัจเจก (individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้


◣ Folksonomy 

       ก่อนหน้าการกาเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้วได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ

       ↘ ค้นหาในเนือความ (Text Search)
       ↘ เรียงเนือหาตามลําดับเวลา (Chronological)
       ↘ แยกตามกล่มประเภทุ (Category, Classification)

ค้นหาในเนือความ (Text Search)
       ↘ ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตังโดย Sergery Brin และ Larry Page 
       ↘ ได้ออกแบบเพือจัดอันดับความสําคัญของเว็บโดยคํานวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ
       ↘ เป็นที่น่าติดตามวาจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่  ๆ
เรียงเนือหาตามลําดับเวลา (Chronological)
       ↘ เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลําดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าวอย่าง CNN, BBC และ google news เนือหาเก่าจะตกไปอยูด้านล่าง Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน
       ↘ ทังนี้หากต้องการอ่านเนือหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้
แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
       ↘ การจัดระเบียบแบบนียึดเอาหัวข้อเป็นหลักแล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก, นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา, วิทยาศาสตร์ฯลฯลักษณะอื่น ๆ
       ↘ จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น


สรุปบทที่ 2

✪ E-business infrastructure 

◣ ความหมายของ E-business infrastructure 


          หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ้งคําว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน 
Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย  และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึง กระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสูระบบ E-business ด้วย



ส่วนประกอบของโครงสร้างพิ้นฐาน 
E-business infrastructure computer

◣ Internet 

          Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไมมีอะไรเกิดขึ้น  การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองตอการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบขนาดใหญในรูปแบบ Client / Server

◣ Internet applications 

          อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ E-commerce โดยเน้นทํางานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management โดยการตลาดเครือข่ายอินทราเน็ต

◣ Web browsers and servers 

            เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
      ↘ Internet Explorer
      ↘ Mozilla Firefox
      ↘ Google Chrome
      ↘ Safari

เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมที่นำมาทำ เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 4อันดับแรก คือ
       Apache HTTP Server จาก Apache Software Foundation
       Internet Information Server (IIS) จากไมโครซอฟท์
       Sun Java System Web Server จากซัน ไมโครซิสเต็มส์
       Zeus Web Server จาก Zeus Technology



◣ Web 1.0 


          ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only )  เป็นเทคโนโลยีที่ สามารถที่ สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master ) เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษา


         สำหรับ การพัฒนา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปโดยทำใน ลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล



◣ Web 2.0 

          ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็นการพัฒนาต่อจาก web 1.0 สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างเช่นเว็ป Wikipedia  ที่สามารถให้ผู้ใช้งานแสดงความคิดเห็น ทําให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที สิ นสุด เกิดจากการคานอํานาจของข้อมูลของแต่ละบุคคลทําให้ข้อมูลนั นถูกต้องมากที สุด


◣ Web 3.0 

          เป็นการนําแนวคิดของ Web 2.0 มาทําให้  Web นัั้นสามารถจัดการข้อมูลจํานวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata  ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data  about  data)  ทําให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทําหน้าที ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั น แล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ งโดยปริยาย ทําให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่  ที ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื อมต่อกันอย่างเป็นระบบมาก ขึ้น