วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทที่ 5

E-commerce 


          ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า องค์กรเครือข่ายร่วม (Internet worked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

◣ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) 

          การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุึกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ิอินเตอร์เน็ต เป็นต้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงนขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับสินค้า เป็นต้น และนอกจากนี้ ยังลดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาลงได้


◣ โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure) 

          องค์ประกอบหลักสําคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนํามาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

           ระบบเครือข่าย (Network)
           ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
           การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
           การรักษาความปลอดภัย (Security

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


◣ ประเภทของ E-Commerce 

◣ กลุ่มธุรกิจที่ค้ากําไร (Profits Organization) 

           Business-to-Business (B2B)
           Business-to-Customer (B2C)
           Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
           Customer-to-Customer (C2C)
           Customer-to-Business (C2B)
           Mobile Commerce

◣ กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization) 

           Intrabusiness (Organization) E-Commerce
           Business-to-Employee (B2E)
           Government-to-Citizen (G2C)
           Collaborative Commerce (C-Commerce)
           Exchange-to-Exchange (E2E)
           E-Learning

◣ E-Commerce Business Model 

◣ แบบจําลองทางธุรกิจ 

          หมายถึง วิธีการดําเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้อันจะทําให้บริษัทอยู่ต่อไปได้นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

◣ ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค้าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทําให้ลูกค้ายอมจ่ายค้าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL

◣ ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน 

          เป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP ), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล) เป็นต้น  ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce 

◣ ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ 

          ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชํา),EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย) เป็นต้น ปัจจัยในความสําเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า

◣ ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทํากําไรได้คือ Yahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่น 

◣ บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 

          ปัจจัยที่สําคัญอีกประการหนึ่งต่อความสําเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การกําหนดมาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทํางานร่วมกันให้มีความสอดคล่องกัน เช่น ในกรณีของ eCitizen ซึ่งสามารถ ทําให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service)  ในกรณีศึกษา ได้แก่MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov(การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน)

◣ ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ 

          ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจําเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจํานวนมาก ส่วนปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น

◣ ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ 

          ปัจจัยในความสําเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อผู้ขายจํานวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทําให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยการมีควาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี  ในกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก)

◣ ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกจิ ทั่วไป LOGO กับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 


◣ ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce 

ข้อดี

           สามารถเปิด ดำเนิน การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
           สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
           ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
           ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
           ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียว แต่ไปได้ทั่วโลก
           สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้ง่าย
           ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
           ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

           ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
           ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้
           ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
           ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
           การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น